วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ชาวสารคามร่วมปลูกปอเทืองที่ “แก่งเลิงจาน” 

รองรับกิจกรรม Bike For Dad และการท่องเที่ยว


                   
                    ชาวมหาสารคามร่วมใจหว่านเมล็ดปอเทืองบนพื้นที่ 70 ไร่ อ่างเก็บน้ำแก่งเลิงจาน ให้เป็นทุ่งดอกปอเทือง กะให้บานช่วงวันพ่อ รองรับเส้นทางปั่นจักรยาน Bike For Dad และต้อนรับเทศกาลท่องเที่ยวหน้าหนาว
       
                       วันนี้ (22 ต.ค.) ที่อ่างเก็บน้ำแก่งเลิงจาน องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ร่วมกับกองบังคับการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัดมหาสารคาม นายโชคชัย เดชอมรธัญ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานหว่านเมล็ดปอเทือง และพันธุ์ไม้ดอกในพื้นที่อ่างเก็บน้ำแก่งเลิงจาน โดยมีหน่วยงานราชการ เอกชน พ่อค้า ประชาชน และนักเรียนนักศึกษากว่า 2,000 คน ร่วมกันหว่านเมล็ดปอเทืองและพันธุ์ไม้ดอก เพื่อให้ดอกปอเทืองบานในวันพ่อ พร้อมรับเทศกาลท่องเที่ยวช่วงหน้าหนาว และเทศกาลปีใหม่
  1. ข้อมูลจาก : http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9580000118210




'บิ้วตี้บายซิล' ผลิตผล มมส. การันตีคุณภาพ-โกอินเตอร์


                      จากที่ “มหาสารคาม” เป็นจังหวัดหนึ่งที่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอันดับต้นๆ ของประเทศ จึงเป็นเหตุผลให้ทีมวิจัยจากศูนย์นวัตกรรมไหมของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) นำโดย จิรภา บุดีมาลย์ ต่อยอดเพิ่มมูลค่าด้วยร่วมกันวิจัยพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์โหมดเครื่องสำอางจากโปรตีนไหมแบรนด์ “บิวตี้บายซิล” การันตีคุณภาพ กระทั่งได้รับการยอมรับจากลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ

                      จิรภา บุดีมาลย์ หัวหน้าโครงการพัฒนานักวิจัยเครื่องสำอางจากโปรตีนไหม มมส.กล่าวว่า แนวคิดหลักต้องการเพิ่มผลิตผลที่ได้จากหม่อนไหมให้แก่ชุมชน โดยเฉพาะการนำเอาโปรตีนไหมมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง หลังจากเล็งเห็นว่าต่างประเทศ อาทิ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ที่มีการนำโปรตีนไหมมาใช้อย่างกว้างขวาง จึงหันมามองไหมไทยและเห็นว่ามีคุณสมบัติที่เด่นมาก โดยเฉพาะมีสีเหลืองทอง
ข้อมูลจาก : http://www.komchadluek.net/detail/20151014/215069.html

วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558

  แห่ชมสะพานไม้แกดำ มหาสารคาม

               

 สะพานไม้ ยาวประมาณ 1 กิโลเมตร ทอดจากชายฝั่งหนองแกดำด้านวัดดาวดึงษ์แกดำ ไปยังหมู่บ้านหัวขัว คำว่า ขัว ภาษาอีสาน แปลว่า สะพาน บ้านหัวขัว คือบ้านหัวสะพาน ชื่อหมู่บ้านที่ตั้งมานี้น่าจะเป็นไปได้ว่า สะพานและหมู่บ้านสร้างขึ้นมาพร้อมๆ กันก็เป็นได้ สอบถามชาวบ้านที่หาปลาอยู่ในหนองแกดำ
แกเล่าว่า เกิดมาก็เห็นสะพานอยู่แบบนี้มานานแล้ว คนแก่คนเฒ่าที่รู้จักในหมู่บ้านอายุ 80 กว่าปี ก็บอกว่าเกิดมาก็เห็นสะพานอยู่อย่างนี้แล้วเหมือนกัน แต่ถ้าถามถึงคนผู้สร้างสะพานล้วนล้มหายตายจากไปหมดแล้ว จึงประมาณอายุของสะพานได้น่าจะ 100 ปี สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการไปมาหาสู่กันระหว่างคน 2 ฟากฝั่งหนอง

    หนองแกดำ หรือหนองน้ำอื่นๆ ในภาคอีสาน มีสภาพกว้างใหญ่ ลึกบ้างตื้นบ้างเป็นช่วงๆ เป็นแหล่งน้ำสำหรับการเกษตรที่สำคัญ และเป็นแหล่งในการหาปลาเพื่อเป็นอาหารและนำไปขาย สะพานไม้ที่สร้างขึ้นด้วยวิธีง่ายๆ ปักเสาลงไปในโคลนใต้น้ำจนถึงชั้นดิน ปูด้วยแผ่นไม้ที่พอจะหามาได้ คงจะแข็งแรงมั่นคงได้แค่ชั่วระยะเวลาไม่นาน ตอนนี้ถ้าลองไปเดินบนสะพานจะรู้สึกว่ามันโยกเยกเอาการน่าหวาดเสียว แต่ชาวบ้านก็ใช้สะพานนี้อยู่เป็นประจำ มีการซ่อมแซมบ้างเป็นครั้งคราวตามสภาพ เคยมีโครงการรื้อถอนเพื่อสร้างสะพานคอนกรีตจากทางจังหวัด เพื่อใช้เป็นเส้นทางสัญจรที่แข็งแรง และวางท่อประปาไปตามแนวสะพาน แต่ชาวบ้านอยากให้อนุรักษ์สะพานนี้ไว้ตามเดิม ตอนนี้มีคนรู้จักสะพานนี้กันมากขึ้นกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของมหาสารคาม ก็คงจะต้องคงสภาพสะพานไม้นี้ไว้ต่อไป

การเดินทางไปสะพานไม้แกดำ
    สะพานไม้แห่งนี้เพิ่งเป็นที่รู้จักได้ไม่นาน แน่นอนว่าต้องมีสื่อท่องเที่ยวมากมายเดินทางไปเก็บภาพ ก็ลองค้นหาว่าจะมีรายละเอียดการเดินทางหรือเปล่า ปรากฏว่าหายากมาก พอเราไปมาแล้วก็เลยอยากเขียนให้มันชัดๆ เจาะลงไปเลย คนอื่นๆ จะได้ไปได้ง่ายขึ้น

    สะพานไม้แกดำ อยู่ด้านหลังวัดดาวดึงษ์แกดำ เวลาค้นใน Google Maps เจอแต่วัดดาวดึง แต่ก็คือที่เดียวกัน ในอำเภอแกดำ

    มาจากขอนแก่น ใช้ถนนมิตรภาพไปทางโคราช มาถึงตำบลท่าพระประมาณ 10 กิโลเมตร จากตัวเมืองขอนแก่น มีสามแยกให้เลี้ยวซ้ายทางหลวงหมายเลข 208 ป้ายจะเขียนว่าไปโกสุมพิสัย ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งของมหาสารคาม เลยโกสุมพิสัยไปเรื่อยๆ ก่อนถึงตัวเมืองมหาสารคามจะมีสี่แยกบายพาส หรือเลี่ยงเมือง ด้านขวาจะมีสถานีวิทยุอาสารักษาดินแดน นี่แหละเป็นทางแยกที่เราจะเลี้ยวขวา จากต.ท่าพระ จ.ขอนแก่น มาบายพาสมหาสารคาม 56 กิโลเมตร

    พอเลี้ยวที่บายพาสแล้วขับไปอีก 7 กิโลเมตร สี่แยกไฟแดงที่ 2 เลี้ยวขวา ทางหลวงหมายเลข 2040 ขับไป 8.6 กิโล เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2380 ขับไปอีก 13 กิโลเมตร จนเจอป้ายวัดดาวดึงษ์แกดำ เลี้ยวซ้ายแล้วไปจนถึงหนองน้ำ

    มาจากร้อยเอ็ด มีหลายเส้นทาง ทางแรก ใช้ทางหลวง 2045 ร้อยเอ็ด-วาปีปทุม ขับมา 25 กม. เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2380 ขับไปอีก 15.8 กม. เลี้ยวซ้ายไปเจอวัดโพธิ์ศรีแกดำ เลี้ยวซ้าย เป็นถนนเลียบหนองแกดำเลี้ยวไปทางขวา จนถึงศาลาท่าน้ำวัดดาวดึงษ์แกดำ

  ที่มา : http://www.touronthai.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B3-50000018.html

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2558

"TOT"ส่ง Wi-Max สู่มหาสารคาม


    บรรยากาศ โรงเรียนมัธยมศึกษาในพื้นที่ชนบทของจังหวัดมหาสารคาม
ศูนย์ทางไกลเพื่อการศึกษาและพัฒนาชนบท จังหวัดมหาสารคาม

          ทีโอที กทช. ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ม.ราชภัฏมหาสารคาม เซ็นเอ็มโอยูให้บริการไวแม็กซ์โครงการต้นแบบศูนย์ทางไกลเพื่อการศึกษาและพัฒนาชนบท เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ 80 พรรษา เพื่อให้ ร.ร.มัธยมด้อยโอกาสในชนบท 20-21 แห่งใน จ.มหาสารคาม สามารถใช้ประโยชน์จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยใช้อุปกรณ์ Telsima ของRTSด้านทีโอทีเล็งเปิดบริการเชิงพาณิชย์ไวแม็กซ์เร็วๆนี้
 
          ทั้งนี้ ทีโอทีมีแผนลงนามบันทึกข้อตกความร่วมมือ และเปิดโครงการศูนย์ทางไกลเพื่อการศึกษาและพัฒนาชนบท จังหวัดมหาสารคามอย่างเป็นทางการในวันที่ 29 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยเป็นความร่วมมือระหว่างคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือและมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ด้วยงบประมาณ 80 ล้านบาท
        รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.sarakhamclick.com/sarakham/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7-%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A1/TOT-%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87-Wi-Max-%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A1.html